วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์
ดังนั้นไม่ว่าทุกๆคนจะใช้คอมพิวเตอร์ในทางใดก็ตามทุกคนก็ควรจะมีจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์กันให้มากๆน้ะค้ะ
จริยธรรม (Ethics) เป็นเรื่องของการกำหนดความถูกต้องดีงาม สิ่งที่ไม่ควรทำ มีหลักปฏิบัติในระดับที่สูงกว่ามารยาทในสังคม เช่น คนที่ไม่ยอมเข้าแถวเพื่อขอรับบริการตามสิทธิ์ก่อนหลังอาจถือว่าไม่มีมารยาทหรือพนักงานคอมพิวเตอร์คนหนึ่งเอาข้อมูลทางการเงินของลูกค้าที่เขาจะต้องเห็นตามหน้าที่การงานไปหาผลประโยชน์แก่ตนเอง เช่น ขายรายชื่อนั้นให้ธุรกิจอื่น หรือบอกให้แก่คู่สมรสซึ่งเป็นพนักงานขายตรงไปเสนอขายสินค้า การกระทำเช่นนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง ไม่มีจริยธรรม จริงอยู่ แม้ว่าบริษัทที่พนักงานผู้นั้นทำงานอยู่จะไม่เสียหาย แต่การนำเอาของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจทำได้อย่างเปิดเผย หรือพนักงานขายสินค้าของทางบริการหนึ่งซึ่งลาออกจากบริษัทเพื่อไปทำงานกับบริษัทคู่แข่งแล้วใช้ประโยชน์จากความรู้ในเรื่องข้อมูลราคาหรือความลับทางการค้าของบริษัทแรกไปให้บริษัทหลัง ก็อาจเรียกได้ว่าพนักงานคนนั้นไม่มีจริยธรรม เมื่อสังคมสลับซับซ้อนขึ้น มีการแบ่งหน้าที่กันออกเป็นหน้าที่ต่าง ๆ จึงมีข้อกำหนดที่เรียกว่า “จรรยาวิชาชีพ” (Code of Conduct) ขึ้น เพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติของคนในอาชีพนั้น ๆ เราคงเคยได้ยิน จรรยาบรรณของแพทย์ ที่จะไม่เปิดเผยเรื่องราวส่วนตัวของคนไข้ จรรยาบรรณของนักหนังสือพิมพ์ที่รับเงินทองสิ่งตอบแทนเพื่อเสนอข่าวหรือไม่เสนอข่าวไม่เปิดเผยแหล่งข่าวถ้าแหล่งข่าวไม่ต้องการจรรยาบรรณวิชาชีพของสถาปนิกหรือวิศวกรผู้ออกแบบที่ต้องไม่รับผลประโยชน์ใด ๆ จากผู้ขายอุปกรณ์ที่ใช้ในงานที่เขาออกแบบ ซึ่งขายให้กับผู้ว่าจ้างงานชิ้นนั้นเพราะเขาได้รับปลตอบแทนจากผู้ว่าจ้างแล้ว จรรยาบรรณของวิชาชีพใด ก็มักกำหนดขึ้นโดยสมาคมวิชาชีพนั้น โดยมีข้อกำหนด บทลงโทษที่นอกเหนือไปจากกฏหมายบ้านเมือง เช่น เพิกถอนสมาชิกภาพ เพิกถอนหรือพักใบประกอบวิชาชีพ และอาจมีกฏหมายรองรับอีกด้วย อาชีพนักคอมพิวเตอร์ เป็นอาชีพใหม่ในสังคมสารสนเทศ การใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ ก็เป็นสิ่งใหม่ที่มีศีลธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณเฉพาะของตนซึ่งบางครั้งก็แตกต่างจากจริยธรรมที่ยอมรับกันมาแต่ก่อน หลักพื้นฐานของจริยธรรมในสังคมสารสนเทศก็คือการเคารพผู้อื่น เคารพความเป็นส่วนตัว การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลก็จะเฉพาะสิทธิ์ที่ตนเองมีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงาน
บัญญัติ 10 ประการของผู้ใช้คอมพิวเตอร์
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย
5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ
6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์
7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่
8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน
10. ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ จรรยาวิชาชีพ ของสมาชิกสมาคมเครื่องจักรกลคอมพิวเตอร์
1.ควรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางที่ถูกต้อง
2.ควรมีมารยาทในการใช้ไม่แอบดูข้อมูลของผู้อื่นที่ไม่อนุญาต
3.ไม่ใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด เช่น การขโมยข้อมูลของบุคคลอื่น หรือการทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียไม่ว่าจะทางชื่อเสียง ทางสังคม และอื่นๆ ซึ่งเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง
4.ควรช่วยกันรักษาคุณธรรมในการใช้เทคโนโลยีเอาไว้
5.หากว่าเราไม่ได้เป็นผู้ที่กระทำแต่หากพบเห็นบุคคลอื่นก็ควรที่จะว่ากล่าวตักเตือนให้เขาทำในสิ่งที่ถูกต้อง6.ใช้คอมพิวเตอร์ในเชิงสร้างสรรค์ไม่ก่อความเดือดร้อนให้แก่บุคคลอื่น
8.ควรใช้คอมพิวเตอร์ในเชิงสร้างสรรค์
9.ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน
10.หากมีบุคคลใดส่งข้อมูลมาให้โดยเราไม่รู้จักก็ควรหลีกเลี่ยงโดยการไม่เปิดเพื่อป้องกันไวรัส
11.ในการทำงานต่างๆต้องตรวจเช็คข้อมูลให้
12.ในการทำสิ่งใดแต่ละครั้งควรคิดถึงผลที่จะตามมาให้ละเอียดถี่ถ้วนเพื่อป้องกันการผิดพลาดในภายหลัง13.ไม่เปิดเว็บภาพลามก
14.ไม่ส่งจดหมายลูกโซ่ให้กับผู้อื่น
15.ไม่ส่งจดหมายเท็จให้กับผู้อื่นเพราะอาจเกิดการสูญเสีย
16.ไม่ส่งแฟ้มไวรัสให้คอมเครื่องอื่น
17.ช่วยกันตรวจตราผู้ที่หน้าสงสัย
18.ช่วยกันเป็นตาให้กับส่วนรวมหากมีสิ่งใดผิดปกติจะได้หาทางแก้ใขได้ทัน
19.ช่วยกันรณรงค์การรักษาสิ่งของ
20.ช่วยกันลบข้อมูลที่ไม่ดีออกไป
21.ถ้ามีคนทำการแบบนี้ให้ทำโทษโดยการไม่ให้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
22.ไม่ควรเล่นเกมการพนัน
23.ไม่ควรเลียนแบบความรุนเเรงในสิ่งเร้า
24.เล่นเกมที่มีทักษะหรือค้นหาความรู้แทน
25. หลีกเลี่ยงเกมไร้สาระ
26.เมื่อเข้าไปใช้บริการเว็บใดก็ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของเว็บนั้น (ในทางที่ถูกต้อง)
27.ในการใช้คอมพิวเตอร์ควรติดตั้งเครื่องแสกนไวรัส
28.ไม่โหลดรูปภาพลามกไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลที่ไม่จำเป็น
29.เคารพสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่นใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเผยแผ่หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างที่จริง
วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
Crossword Puzzle
ชุมนุม Crossword จากการที่ได้เข้าชมรม crosword ในชั้น ม.4นี้ทำให้ได้รู้จักกับเกมครอสเวิร์ดมากยิ่งขึ้น มีความเชียวชาญกับการเล่นและเทคนิควิธีในเกม จึงขอนำเสนอประวัติ และวิธีการเล่นครอสเวิร์ดเบื้องต้น ให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษากัน
สำหรับ crossword และ scrabble จะแตกต่างกันหรือไม่เพื่อนๆบางคนจะได้ยินคำใดคำหนึ่งมาแต่ไม่เคยเล่น ลองมาดูกันว่าเกมทั้งสองที่คนทราบนี้จะใช่เกมที่คุณคิดไว้หรือไม่ และเหมือนกันหรือป่าวต้องมาดูกันน้ะคะ
ประวัติ Crossword
ความแตกต่างระหว่าง crossword กับ scrabble สำหรับเกม crossword นั้นมีต้นกำเนิดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ปีค.ศ. 1913 โดยนักหนังสือพิมพ์ที่ชื่อ Arthur Wynne ได้ตีพิมพ์เกมที่ชื่อ ปริศนาอักษรไขว้ ลงใน หนังสือพิมพ์ New York World ซึ่งรูปร่างหน้าตาส่วนใหญ่ของเกม ก็ไม่ต่างจากเกม crossword ในแบบที่เรารู้จักกันในปัจจุบันนี้นัก กล่าวคือมีช่อง4เหลี่ยมหลายๆช่องเรียงกันทั้งในแนวตั้งและแนวนอน พาดทับกันไปมาโดยไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ซึ่งในช่องทุกช่องจะเว้น ว่างไว้ให้คนมาเขียนเติมคำลงไปช่องละ1ตัวอักษรตามคำบอกใบ้ที่ ผู้สร้างเกมเขียนเอาไว้ข้างๆกระดาน ความสนุกของเกม crossword จึงอยู่ที่การตีคำบอกใบ้ให้แตกนี่เอง crossword มักพบบ่อยตามหน้า หนังสือพิมพ์หรือนิตยสารทั่วไปซึ่งสามารถเล่นคนเดียวได้เพลินๆ ส่วน Scrabble นั้นเป็นวิวัฒนาการที่แตกหน่อออกมาจาก crossword มีจุดกำเนิดในปี 1938 โดยสถาปนิกที่ชื่อ Alfred Butts ก่อนที่ทนาย ความที่ชื่อ James Brunot จะซื้อลิขสิทธิ์มาปรับปรุงและเปลี่ยนชื่อ ทางการค้าเป็น Scrabble ในเวลาต่อมา หน้าตาของ scrabble ก็จะประกอบไปด้วยกระดานรูป4เหลี่ยมจัตุรัส ที่แบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆอยู่ภายใน โดยแบ่งเป็นด้านละ15ช่อง (รวมเป็น225ช่อง) scrabble 1 เกมสามารถเล่นได้ตั้งแต่2ถึง4คน โดยจะผลัดกันวางตัวแผ่นอักษรประกอบขึ้นเป็นคำซึ่งสามารถคิดขึ้น เองได้อย่างอิสระ(แต่ต้องเป็นคำที่มีในDicและทางscrabbleยอมรับ) แต่มีกฎอยู่ว่าจะต้องวางต่อจากอักษรตัวใดตัวหนึ่งของคำที่วางไว้ ก่อนแล้ว และคำที่วางใหม่นั้นหากไปเชื่อมติดกับคำเก่าไม่ว่าจะใน แนวตั้งหรือแนวนอน แถวที่เชื่อมกันนั้นจะต้องสามารถเกิดเป็นคำใหม่ ที่ scrabble ยอมรับอีกด้วย ดังนั้น scrabble จึงเป็นเกมท้าทายไหว พริบสติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ของผู้เล่นมากกว่า crossword (แต่จะเป็นชนิดไหนก็ช่วยฝึกภาษาด้วยกันทั้งนั้น)
การคิดคะแนนของ scrabble
scrabbleจะคิดจากผลรวมของแต้มที่แต่ละคำ(ที่เกิดขึ้นใหม่ต่อการวาง1ครั้ง) ทำได้ โดยคำ1คำจะมีคะแนนเท่ากับผลรวมของแต้มที่กำหนดมาแล้ว ในแต่ละตัวอักษร (เช่น คำว่า zoo จะได้แต้ม12คะแนน เพราะกฎตั้ง ให้อักษรที่พบยากอย่าง z มี10คะแนน ส่วนอักษรที่พบบ่อยๆอย่างตัว o มี 1 คะแนน) ถ้าคำใดมีตัวอักษรวางลงในช่องที่เป็นสีแดงเข้มบนกระดาน คะแนน ที่คำนั้นทำได้ทั้งคำจะถูกคูณไปอีก3เท่า (ช่องสีแดงอ่อนจะคูณแค่2) ถ้าคำใดมีตัวอักษรวางลงในช่องสีฟ้าเข้ม จะเพิ่มคะแนนเป็น3เท่า เฉพาะตัวอักษรตัวนั้น (ถ้าเป็นช่องสีฟ้าอ่อนก็เพิ่มแค่2เท่า)
สำหรับการเล่นครอสเวิร์ดเกมต่อศัพท์นั้นนอกจากจะเป็นคำศัพท์ที่ใช่กันทั่วไปแล้วยัง
จะมีคำศัพท์เฉพาะที่ใช่ในการเล่นครอสเวิร์ดหรือที่เรียกกันทั่วๆไปศัพท์ครอสเวิร์ด
ซึ่งเพื่อนๆอาจจะต้องจดจำกันเองหรือหากใครเล่นบอยๆก็จำได้ไปเองแหละ
หากเพื่อนคนใดสนใจเล่นเกมครอสเวิร์ดสามารถเล่นออนไลน์ได้ที่
http://www.thaibg.com หรือ http://www.thaibg.com/CWOnline/
www.thaicrossword.com สมาคมครอสเวิร์ดเกม เอแม็ท คำคม และซูโดกุ แห่งประเทศไทย
วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2552
>*ProFile*<
Name : กมลวรรณ
Lastname : กระถินทอง
NickName : PukPik
HBD : 12/08/1991 , Cancer
Age : 17 years 2 month
Address : 1316 Petkasem 94 Bangkaenorth Bangkea Bangkok 10160.
Tel : 08-5-8321543 , 02-806-1436 , 02-806-0378
Hobbies : อ่านหนังสือ แช็ท เล่มเกม
Games : ps2 psp online offline
Fovourite culor : Pink Blue and yellow
ส่วนสูง 155 ซม. น้ำหนัก 55 กก.
Subject : Math Chem Bio Eng.
Best Friend : มิ้นคุง น้องนาย น้ำมล มะหมวย
ไม่ชอบ : ส้ม แมลงสาบ เสียงดัง ชอบ : ช็อคโกแล็ต
สุดที่รัก : พ่อกับแม่